Itzhak Perlman - Themes from cinema paradise

 

Tablo reader up chevron

Itzhak Perlman - Themes from cinema paradise

เหงาเกินกว่าเสียงไวโอลิน มืดก่อนแสงอาทิตย์เริ่มทอแสง

30 มีนาคม 2561

 

                    ผมใช้เวลาช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น กว่า 2 วัน ในการนั่งฟังเสียงบรรเลงไวโอลิน ของ Itzhak Perlman วนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า หลังจากไล่เปิดฟังผลงานเพลงของ Ennio Morricone เมื่อเริ่มต้นจากบทเพลงอื่น จนมาจบลงด้วยทำนองเพลง Cinema Paradiso

 

                    ด้วยความคุ้นเคยเพราะจำได้ ถึงท่อนสร้อยหงอยเหงา จากเสียงเพลงในร้านที่เคยนั่งฟังประจำ

 

                เสียงไวโอลินของ Itzhak คลอตามเสียงบรรเลงของนักดนตรี The City of Praga Orchestra ไล่จังหวะเคียงคู่กันไป ด้วยจุดเริ่มจากความแผ่วเบา ไม่นับรวมความน่าเบื่อหน่ายบางเบาของตัวเอง เมื่อวนฟังบทเพลงความยาว 3.17 กลับไปกลับมา

 

                ความเศร้าสร้อยของท่อนโหยหา กลับทำให้รู้สึกว่า ชีวิตค่อยค่อยเริ่มต้นบานขึ้นช้าช้า

 

                ผมไม่รู้ว่าวนเวียนซ้ำซากกับเสียงไวโอลินเนิ่นนานขนาดไหน ผมรู้แค่เพียงแสงอาทิตย์ที่ทอขึ้นหลังจากนั่งฟัง เมื่อทุกช่วงจบจะมีเสียงปรบมือ ค่อยๆแย้มเสียงขึ้นทีละน้อย แล้วก็เริ่มต้นวนลากนิ้ว เพื่อกลับไปเริ่มต้นฟังบทเพลงอีกครั้ง ครั้งแล้วครั้งเหล่าที่นั่งฟังทำนองเพลง  

 

                บางครั้งก็รู้สึกเหงา บางทีก็หายใจขาดช่วง บางขณะโหยในแต่ละท่อนลมหายใจ ปนเปไปกับความตื่นเต้น ของความขาดช่วง เสียงดนตรีปนเปความรู้สึกมากมาย จนกลับไปนั่งฟังบทเพลงจากผลงานแผ่นเสียง แปรสภาพจากร่องแผ่นไวนิลเป็นข้อมูลดิจิตอล เสียงแต่ละช่วงท่อนเพลงช่างแตกต่างกัน กับความสดของสายไวโอลิน ไม่ใช่เพราะเพลงบรรเลงแตกต่างกัน แต่จังหวะ อารมณ์ความรู้สึก และมวลอากาศแวดล้อม ทำให้รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้แตกต่างกัน

 

                แม้ว่าจะบรรเลงด้วยโน้ตเพลงเดียวกัน จังหวะขยับที่ไม่น่าจะคลาดกันสักเท่าไร

                แต่ทุกสิ่งจากเสียงล้วนแตกต่าง

 

                อาการรำคาญเสียงโฆษณา จากคลิปคั่นบทเพลง ทำให้ผมกลับมาฟังผลงานรวม วนไล่ไปเรื่อยจาก La Califfa จนถึง Romanza Quartiere และ Chi Mai แล้วเริ่มต้นฟังบทเพลงรักของ Ennio Morricone ร้อยเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ เหมือนค่อยๆร้อยลูกปัด สลับด้วยเสียงร้องคลอของหญิงสาวช่วงเพลง Once Upon a Time in the West เหมือนบอกว่า ชีวิตค่อยๆไหลไป และ บางสิ่งอย่างในความรัก ค่อยๆไหลผ่านไป

 

                ผมกลับคิดถึงภาพหญิงสาวในชุดสีดำ ผมไม่รู้ว่าเสื้อสีดำของเธอเป็นแบบไหน แต่ความมืดของกระโปรงยาวสีดำ ที่ตัดกับแสงไฟในยามก่อนเที่ยงคืน ทำให้ผมจดจำ ผมตรงยาวรับใบหน้ามน และผิวเธอขาวนวล ที่เหลียวมามองผม ก่อนเดินไปทางตึกโดม ทำให้ผมมั่นใจว่า เธอเป็นหญิงสาวที่มีเลือดเนื้อ มีลมหายใจ ไม่ใช่หญิงสาวในตำนานที่ไม่มีชื่อ ซึ่งมักถูกร่ำลือว่า เป็นใครสักคน ที่มีความผูกพันอยู่รอบสนามฟุตบอล

 

                ระหว่างที่เดินกลับจากหอประชุมใหญ่ เพื่อไปหยิบของบนตึกกิจกรรม ผมมองเห็นเธอ ในเดือนตุลาคม ปี 2536 เนิ่นนานหลายปี ผมก็ยังคงจดจำเธอได้ ไม่ใช่เพราะใบหน้า ไม่ใช่เพราะชุดสีดำที่เธอใส่ แต่เพราะอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง ทำให้ผมจดจำเธอได้ขึ้นใจ ยามเช้าวันสองวันนี้ เธอยังคงวนเวียนอยู่ในความทรงจำของผม

 

            จนบทสุดท้ายของการไล่ฟังเพลงในยามรุ่งเช้า ผมอดคิดถึงเสี้ยวหนึ่งของบันทึกการแสดงไวโอลินจาก Itzhak Perlman ผมเห็นรอยยิ้มมุมปากของเขา ค่อยๆแย้มคลายออกมา

 

            ก่อนที่ภาพในจอจะลับหายไป

 

หมายเหตุ บทเพลง Cinema Paradiso ที่บรรเลงนี้ระบุว่า Itzhak Perlman y la Filarmónica de la Ciudad de Praga interpretando Cinema Paradiso en el Parque Bicentenario de Vitacura, Santiago. 18/11/2010. Chile

Comment Log in or Join Tablo to comment on this chapter...

30 ?????? 2561

ผมใช้เวลาช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น กว่า 2 วัน ในการนั่งฟังเสียงบรรเลงไวโอลิน ของ Itzhak Perlman วนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า หลังจากไล่เปิดฟังผลงานเพลงของ Ennio Morricone เมื่อเริ่มต้นจากบทเพลงอื่น จนมาจบลงด้วยทำนองเพลง Cinema Paradiso ด้วยความคุ้นเคยเพราะจำได้ ถึงท่อนสร้อยหงอยเหงา จากเสียงเพลงในร้านที่เคยนั่งฟังประจำ

เสียงไวโอลินของ Itzhak คลอตามเสียงบรรเลงของนักดนตรี The City of Praga Orchestra ไล่จังหวะเคียงคู่กันไป ด้วยจุดเริ่มจากความแผ่วเบา ไม่นับรวมความน่าเบื่อหน่ายบางเบาของตัวเอง เมื่อวนฟังบทเพลงความยาว 3.17 กลับไปกลับมา ความเศร้าสร้อยของท่อนโหยหา กลับทำให้รู้สึกว่า ชีวิตค่อยค่อยเริ่มต้นบานขึ้นช้าช้า

ผมไม่รู้ว่าวนเวียนซ้ำซากกับเสียงไวโอลินเนิ่นนานขนาดไหน ผมรู้แค่เพียงแสงอาทิตย์ที่ทอขึ้นหลังจากนั่งฟัง เมื่อทุกช่วงจบจะมีเสียงปรบมือ ค่อยๆแย้มเสียงขึ้นทีละน้อย แล้วก็เริ่มต้นวนลากนิ้ว เพื่อกลับไปเริ่มต้นฟังบทเพลงอีกครั้ง ครั้งแล้วครั้งเหล่าที่นั่งฟังทำนองเพลง

บางครั้งก็รู้สึกเหงา บางทีก็หายใจขาดช่วง บางขณะโหยในแต่ละท่อนลมหายใจ ปนเปไปกับความตื่นเต้น ของความขาดช่วง เสียงดนตรีปนเปความรู้สึกมากมาย จนกลับไปนั่งฟังบทเพลงจากผลงานแผ่นเสียง แปรสภาพจากร่องแผ่นไวนิลเป็นข้อมูลดิจิตอล เสียงแต่ละช่วงท่อนเพลงช่างแตกต่างกัน กับความสดของสายไวโอลิน ไม่ใช่เพราะเพลงบรรเลงแตกต่างกัน แต่จังหวะ อารมณ์ความรู้สึก และมวลอากาศแวดล้อม ทำให้รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้แตกต่างกัน แม้ว่าจะบรรเลงด้วยโน้ตเพลงเดียวกัน จังหวะขยับที่ไม่น่าจะคลาดกันสักเท่าไร แต่ทุกสิ่งจากเสียงล้วนแตกต่าง

อาการรำคาญเสียงโฆษณา จากคลิปคั่นบทเพลง ทำให้ผมกลับมาฟังผลงานรวม วนไล่ไปเรื่อยจาก La Califfa จนถึง Romanza Quartiere และ Chi Mai แล้วเริ่มต้นฟังบทเพลงรักของ Ennio Morricone ร้อยเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ เหมือนค่อยๆร้อยลูกปัด สลับด้วยเสียงร้องคลอของหญิงสาวช่วงเพลง Once Upon a Time in the West เหมือนบอกว่า ชีวิตค่อยๆไหลไป และ บางสิ่งอย่างในความรัก ค่อยๆไหลผ่านไป

ผมกลับคิดถึงภาพหญิงสาวในชุดสีดำ ผมไม่รู้ว่าเสื้อสีดำของเธอเป็นแบบไหน แต่ความมืดของกระโปรงยาวสีดำ ที่ตัดกับแสงไฟในยามก่อนเที่ยงคืน ทำให้ผมจดจำ ผมตรงยาวรับใบหน้ามน และผิวเธอขาวนวล ที่เหลียวมามองผม ก่อนเดินไปทางตึกโดม ทำให้ผมมั่นใจว่า เธอเป็นหญิงสาวที่มีเลือดเนื้อ มีลมหายใจ ไม่ใช่หญิงสาวในตำนานที่ไม่มีชื่อ ซึ่งมักถูกร่ำลือว่า เป็นใครสักคน ที่มีความผูกพันอยู่รอบสนามฟุตบอล

ระหว่างที่เดินกลับจากหอประชุมใหญ่ เพื่อไปหยิบของบนตึกกิจกรรม ผมมองเห็นเธอ ในเดือนตุลาคม ปี 2536 เนิ่นนานหลายปี ผมก็ยังคงจดจำเธอได้ ไม่ใช่เพราะใบหน้า ไม่ใช่เพราะชุดสีดำที่เธอใส่ แต่เพราะอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง ทำให้ผมจดจำเธอได้ขึ้นใจ ยามเช้าวันสองวันนี้ เธอยังคงวนเวียนอยู่ในความทรงจำของผม

จนบทสุดท้ายของการไล่ฟังเพลงในยามรุ่งเช้า ผมอดคิดถึงเสี้ยวหนึ่งของบันทึกการแสดงไวโอลินจาก Itzhak Perlman ผมเห็นรอยยิ้มมุมปากของเขา ค่อยแย้มคลายออกมา ก่อนที่ภาพในจอจะลับหายไป

หมายเหตุ บทเพลง Cinema Paradiso ที่บรรเลงนี้ระบุว่า Itzhak Perlman y la Filarmónica de la Ciudad de Praga interpretando Cinema Paradiso en el Parque Bicentenario de Vitacura, Santiago. 18/11/2010. Chile

Comment Log in or Join Tablo to comment on this chapter...
~

You might like Akati Khan's other books...